ReadyPlanet.com
dot dot
dot
สินค้าที่มีจำหน่าย
dot
bulletLCD DISPLAY
bulletBOARD CONTROL
bulletELECTRONIC PARTS
dot
ค้นหาสินค้า


  [Help]
dot
dot
กรอกอีเมล์เพื่อรับข่าวสาร

dot
bulletDATASHEET
dot
ตัวอย่างงานที่ลูกค้าส่งซ่อม
dot
bulletTOYODA
bulletYASKAWA
bulletFANUC
bulletSANYO DENKI
bulletMITSUBISHI
bulletOKUMA
bulletSIEMENS
bulletDANFOSS
bulletLENZE
bulletHITACHI
bulletTOSHIBA
bulletFUJI
bulletTELEMECANIQUE
bulletEURO THERM
dot
สาระ บันเทิง
dot
bulletอ่านข่าว ฟังเพลง ดูดวง หาเพื่อน




จาก crt สู่นวัตกรรม lcd article

      การแสดงผลผ่านจอภาพแบบต่างๆ มีวิวัฒนาการน่าสนใจ มันก็คือการการใช้งานสื่อสารซึ่งกันและกัน บทบาทของ เทคโนโลยีจอภาพล้วงลึกเจาะไชเข้ามาในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เริ่มจากที่บ้าน สถานที่ทำงาน ทั้งจอโทรทัศน์ มอนิเตอร์คอมพิวเตอร์และ ขนาดเล็กลงเป็นหน้าจอโทรศัพท์ อะไรๆก็เป็นจอภาพทั้งนั้น เพียงแต่ว่าจอภาพเหล่านั้นได้ออกแบบมาผิดแผกแตกต่างกันทั้งวัตถุประสงค์การนำมาใช้งาน เทคนิคเฉพาะตัว

ระบบจอชนิด CRT (Cathode Ray Tube) ที่ใช้เทคโนโลยีของหลอดภาพ CATHODE RAY TUBE (CRT) โดยองค์ประกอบหลักของหลอดภาพ ซึ่งใช้ส่วนปลายของหลอดภาพ จะมีตัวยิงจุดรวมแสงกวาดไปมาควบคุมและเบี่ยงเบนทิศทางการทำงาน ด้วย Yoke แล้ว ทำให้การสแกนเส้นภาพนั้นให้ผลกระทบ phosphor ซึ่งเคลือบอยู่ด้านในของจอภาพ เพื่อที่เราจะได้ภาพเคลื่อนไหวตามต้องการ จอCRT นับว่าเป็นจอภาพที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เนื่องจากได้ความคมชัดและสีสันสวยงาม แต่ขนาด น้ำหนัก ความเทอะทะ ทำให้มันต้องค่อยๆลดบทบาทตัวเองลงไป และปล่อยให้จอแบนบาง หรือFLAT &SLIMเข้ามาแทนที่ อีกไม่ช้าไม่นานก็จะกลายเป็นความหลังในพิพิธภัณฑ์
ขนาดจอCRTปัจจุบันมีตั้งแต่21-36นิ้ว

จอผลึกเหลว LCD (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพที่ไม่มีหลอดภาพ หรือปืนอิเล็กตรอนสำหรับกวาดหน้าจอ
องค์ประกอบของจอภาพ เริ่มจากแหล่งกำเนิดแสง back light บนแผ่นโพลารอยด์ด้านหลังชั้นของ Twisted-Nematic (TN) LCDจะมีการหุ้มด้วยแผ่นแก้วหรือกระจกทั้ง 2 ด้าน ใช้แผ่นโพลารอยด์ด้านหน้าผนวกกับชั้นนอกสุดเป็นแผ่นกันการสะท้อนแสง

การทำงานจริงๆนั้นผลึกเหลวที่หยอดเอาไว้ระหว่างช่องกระจกจะถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ทำให้โมเลกุลของลิควิดคริสตัลในส่วนของจุดภาพ พิกเซล (pixel) นั้นหมุนเป็นมุม 90 องศา เพื่อให้เกิดได้ทั้งจุดสว่าง และจุดมืด หากเรากล่าวว่าเทคนิคของLCD คือการบิดตัวโมเลกุล แล้วเอาเงาของมันมาใช้งานก็ถือว่าถูกต้องอย่างที่สุด

ขนาดจอLCD มีตั้งแต่10นิ้วไปจนถึง60นิ้วนับว่ามีการใช้งานกว้างขวางมาก

จอแบบ GAS PLASMAจอภาพแบบพลาสม่าทีวี หรือชื่อแรกทางวิชาการที่เราเรียกขานคือ gas plasma เป็นจอที่มีการ ใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูงคล้ายCRT จึงไม่มีใครผลิตในจอขนาดเล็กแบบใช้แบตเตอรี่ จอพลาสม่าทีวีเหมาะสมกับการใช้ไฟ AC เป็นหลัก สำหรับเทคโนโลยีแบบ gas plasma นั้นเป็นการใช้แสงที่เกิดจากการแตกตัว ionized ของ neon gas (นีออน)เพื่อแสดงผลของภาพออกมาที่แผงหน้าจอ ภายในจอภาพแบบ gas plasma มีองค์ประกอบที่เต็มไปด้วย neon gas ใช้แผ่นกระจกเป็นตัวประกอบร่องฟอสฟอรัสภายใน มีการแสดงผลจะอยู่ระหว่างแผ่นแก้ว ตัวแผ่นแก้วด้านหน้าถูกเคลือบขั้วไฟฟ้าแบบโปร่งแสงในแนวตั้ง และแผ่นแก้วปิดด้านหลัง จะทำการเคลือบตามแนวนอน

สำหรับเทคนิคในการเจาะร่องๆใช้วางขั้วไฟฟ้าเราจะเรียกว่า ผังกริด (grjid pattern) จอพลาสม่าทีวีแต่เดิมออกแบบมาเพื่อทดแทนจอCRTขนาดใหญ่โดยตรง
ขนาดจอPLASMA มีตั้งแต่32นิ้วไปจนถึง60นิ้ว


จอภาพแบบโพรเจ็กชั่นทีวี จอภาพประเภทนี้เท่าที่เห็นอยู่จะมีสามรูปแบบ ใช้หลอดภาพส่องสว่างสะท้อนกระจกด้านหลังสู่ด้านหน้า มันจึงมีชื่อเรียกอีกแบบหนึ่งว่า Rear Projection การฉายแบบสะท้อนภาพนี้เองมันจึงจะไม่คมชัดเท่าพวกจอที่แสดงผลโดยตรงจากตัวจอเฉกเช่นกลุ่ม พลาสม่าทีวี แอลซีดี และซีอาร์ที ซึ่งเราจัดว่าเป็นพวกDirect view

จอภาพสะท้อนแสงสว่างจากหลังสู่ด้านหน้านี้ รูปแบบดั้งเดิมใช้หลอดซีอาร์ทีขยายภาพ ถัดมามีผู้นำเอาแผงLCDมาทำเป็นLCD Projection TV เรียกขานว่า LCD Projection TV และต่อมาก็ปรับเทคโนโลยีแยกแผลสะท้อนแสงเป็น3ชุด คือ 3LCD Projection TV แบบสุดท้ายที่นิยมกันคือDLP Projection TV ที่นำเอากระบวนการกงล้อแสงของDLPมาฉายผ่านจากด้านหลังจอมาสู่ด้านหน้า

Projection ชนิดที่ฉายด้านหลังชนิดที่ใช้หลอด CRT คงจะยังมีขายต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อนที่LCD Projection จะมาทดแทน เนื่องมาจากแบบCRTมีข้อเสีย ในด้านของ ความสว่าง ,มีความจำเป็นต้องปรับ convergence เพื่อให้ได้ระดับแสงสี RGB หรือมุมมอง ที่น่าจะมีอายุจะยืนนานหน่อยเห็นจะเป็นประเภท3LCD Projection ส่วนแบบ LCOSท่าจะลำบากเหมือนกันเพราะราคาสูงเกินจับต้อง คือต้องไปว่ากันในกลุ่มไฮเอ็นด์โดยตรง

สุดท้ายผมจะกล่าวถึง คือเครื่องฉายโพรเจ็กเตอร์ ที่จะเป็นอีกระดับขั้นหนึ่งของคนที่ต้องการดูภาพยนตร์จอใหญ่ ที่เหมาะสมกับห้องที่มีการควบคุมปริมาณแสงได้ มีการแข่งขันกันสองรูปแบบคือDLP Projector และLCD Projector ที่แรกๆก็ดูเหมือว่า DLPจะมา กลืนกินตลาดโฮมเธียเตอร์ไปทั้งหมด หลังจากที่เครื่องฉายโพรเจ็กเตอร์ชนิดCRT ล้มหายตายจากไป ซึ่งเราก็จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดกัน

คำถามที่มีมาประดังกันมากที่สุดก็คือ จอภาพแบนบางแบบLCD และPLASMA ใครดีกว่ากัน ผมฟังแล้วก็รู้สึกงงๆ เพราะที่จริงเป็นการเปรียบเทียบที่ประหลาดมาก เนื่องจากลักษณะโครงสร้างการออกแบบแต่ละเทคโนโลยีต่างกันมาก และหากจะว่ากันให้ยุติธรรมต้องบอกว่าทั้งสองประเภทนี้ มีจุดเด่น จุดด้อย แตกต่างกันไป

ไม่มีใครดีที่สุด ไม่มีใครแย่ที่สุด แต่จุดได้เปรียบเสียเปรียบ และความเหมาะสมมีหลายแฟกเตอร์ไล่เรียงกันสามวันสามคืนนั่นแหละ

โดยหลักการแล้ว ขนาดของจอLCD มีกว้างขวางหลายขนาด ทำให้ตลาดดูใหญ่กว่าพลาสม่าทีวีมากทีเดียว อันนี้นับรวมทั้งจอภาพมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ไปจนถึงจอภาพโฮมเธียเตอร์ แต่พลาสม่าทีวีเร็นจ์แคบ จับกลุ่มอยู่แต่เฉพาะตลาดดิสเพลย์และโฮมเธียเตอร์ ที่ต้องการขนาดจอมากกว่า42นิ้วขึ้นไปถึง60นิ้ว ไม่มีการลงมาผลิตในตลาด10-30นิ้วแต่อย่างใด

เรื่องของการแสดงสีในทางเทคนิคแล้วแอลซีดีทีวี จะให้สีเต็มอิ่มฉ่ำกว่าพลาสม่า แต่การให้รายละเอียดเฉดสียังเป็นรองพลาสม่าอยู่ สีดำนั้นหากเราวัดกันด้วยมาตรฐานเดิมของจอแบบ CRT ซึ่งเป็นราชาแห่งการแสดงผลสีดำ ให้ความดำมืดสนิทมากที่สุด ไม่ใช่ดำแบบสว่างเรือง หรือแบบดำเทา เปรียบแล้วสีดำของLCD PLASMA จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีกเรื่อยๆ
มุมมองในการดูทั้งLCD และPLASMA ผมว่าก็กว้างมากพอกันนะถ้านับเอาจอยุคสมัยปัจจุบัน

เฉดสีดำของLCD เหมาะกับการฉายในที่สว่าง เพราะอาจจะเรืองแสงออกน้ำเงินม่วงผสมผสานออกมาได้หากอยู่ที่มืดสนิท ส่วนพลาสม่าให้สีดำได้ดีในที่สลัว ที่มืด แต่ก็จะต้องหาทางลดเรื่องการสะท้อนของกระจกหน้าจอควบคู่กันไปด้วย

จุดอ่อนที่สุดของพลาสม่าทีวีคือการ Burn-in หมายถึงการแสดงผลภาพนิ่งเป็นเวลานานเกินไป ก็อาจทำให้บาง pixel เสียไปได้ วิธีป้องกันใช้ การปรับ contrast ให้น้อยลงไป ( คือปกติพลาสม่ามีคอนทราสต์สูงมากอยู่แล้ว)อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการเล่นภาพนิ่งซ้ำเดิม เป็นเวลายาวนาน พลาสม่าทีวีรุ่นใหม่มิวิธีแก้ไข ด้วยการใช้สมองกลควบ คุมจอให้มีการขยับจุดที่นิ่งนานๆ ให้เลื่อนขึ้นลงไปมาได้เล็กน้อยโดยที่ตาคนเราจับสังเกตได้ยาก ถือเป็นการป้องกัน burn-in ที่ดี

และภาพจากพลาสม่าทีวีจะให้ฟีลลิ่งการชมคล้ายCRTมากกว่า อายุการใช้งานแต่เดิมนั้นสั้นกว่าLCD TV ปัจจุบันมีการพัฒนาใกล้เคียงกันแล้วคือ5-60,000ชั่วโมง

สำหรับจอแบบLCDTV ส่วนใหญ่อัตราไบร๊ท์เนส ทำได้สว่างมากกว่าจอแบบ Plasma และจะให้ภาพที่ดีคมชัดกว่า Plasma ในห้องที่มีแสงสว่างเป็นพิเศษ คือต้องให้ได้ความสว่างมากกว่าที่จะเป็นแสงสลัว จอLCD TVการปราศจากปัญหา burn-in อีกทั้งจอจะมีอายุการใช้งานมีอายุการใช้งาน ถึง 60,000 ชม.คงจะต้องยอมรับว่าคุณสมบัติบางด้านของ LCD ทำให้กลายเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขามของ Plasma แต่ก็ไม่ได้หมายความLCD เหนือกว่าPLASMAทุกด้าน ต้องว่ากันเป็นเรื่องๆไป

PLASMA TV บทสรุป ที่อาจจะทำให้เราต้องไปขบคิดกันก็คือ จอพลาสม่าทีวีไม่มีการเรืองแสงแบบBack light มุมมองที่เรียบแฟล็ตเท่ากัน สีสันความสว่างไม่เปลี่ยนแปลงที่มุมมองแตกต่างกัน การเคลื่อนไหวสมูท มีความต่อเนื่องของภาพ ปราศจากดีเลย์ ให้สีได้เที่ยงตรง เฉดสีทำได้มากกว่า กระบวนการผลิตจะAccurateกว่าโอกาสเกิดJagged รอยหยักแบบเหลี่ยมน้อยกว่า สีดำจะสมจริงและการไล่โทนดำเทาดีกว่า อัตราContrast Ratioเหนือกว่า

ข้อเสียคือ หน้ากระจก ทำให้เกิดการสะท้อนเป็นเงาได้ ต้องเลือกจอพลาสม่าที่มีการโค้ทติ้งผิวหน้าจอกันสะท้อนที่ดี
ขนาดของจอมีอยู่ในเร็นจ์ที่แคบ32, 42, 50 และ 60นิ้วอัตราการกินพลังงานเฉลี่ยใกล้เคียงกับ LCDความเข้มของสีดำน้อยกว่าLCD
อัตราการสู้แสงสว่างน้อยกว่าLCD

LCD TVหน้าจอแห้งเรียบ ไม่มีการสะท้อนเงารบกวนสายตาขนาดของจอมีอยู่ในเร็นจ์ที่กว้าง10-60 นิ้ว อัตราการกินพลังงานเฉลี่ยเท่าเทียมกับ PlasmaTV อันนี้จะต้องเรียนเอาไว้เพื่อความเข้าใจนะครับว่า จอแอลซีดีแม้จะกินไฟต่ำ แต่ก็แสดงผลตลอดเวลาที่หน้าจอ พลาสม่าทีวี จะแสดงผลจากการปิดหรือเปิดแสงไปตามความสว่างมืดของภาพ ดังนั้นคิดเฉลี่ยแล้วก็จะสิ้นเปลืองพลังงานพอๆกัน จอLCD TVความเข้มของสีดำที่LCDเด่นกว่าPLASMA อัตราการสู้แสงสว่างดีกว่าPLASMAจึงตั้งไว้ดูที่สว่างๆได้โดยไม่มีปัญหารบกวนหน้าจอ อายุการใช้งานประมาณ 60,000ชั่วโมง

มีข้อเสียคือธรรมชาติในโครงสร้างของมัน มีการเรืองแสงแบบBack lightมุมมองที่เปลี่ยนไปตามตำแหน่งที่นั่งชม

สีสันความสว่างอาจเปลี่ยนแปลงได้ ภาพการเคลื่อนไหวมีโอกาสไม่สมูทสูงเนื่องจากอุณหภูมิ มีการดีเลย์ของภาพได้ ให้สีได้เที่ยงตรง มีโอกาสเกิดJagged รอยหยักแบบเหลี่ยมได้บ้าง อยู่ที่ตัวควบคุมหรือเอนจิ้น การไล่โทนดำเทาจะทำได้น้อยกว่าPlasmaอัตราContrast Ratioต่ำกว่าPlasma

ทุกอย่างในเทคโนโลยีพลาสม่าและ แอลซีดีทีวี จึงเป็นการได้เปรียบเสียเปรียบกันบนพื้นฐานเทคนิค ไม่ได้หมายความว่าใครจะดีกว่ากันแบบทิ้งขาด ให้เลือกจากความจำเป็นและความเหมาะสมในการใช้งานเป็นหลัก คืออัตราส่วนหรือขนาดจอภาพและคุณภาพ เปรียบเทียบราคาจำหน่าย

ผมไม่เห็นว่าจะเข้าท่าที่ตรงไหนถ้าเราจะเอาพลาสม่าทีวี เปรียบเทียบกับแอลซีดีทีวี ในห้องที่มีแสงแบบเดียวกัน เพราะเมื่อใดเปิดดูในห้องสว่างๆLCDก็ย่อมสวยสดกว่า และเปิดในห้องแสงสลัว จอพลาสม่าก็เหนือกว่า ด้วยโครงสร้างที่ต่างกันดังนี้ ผมจึงไม่คิดว่าเราจะนำมาเปรียบเทียบกันในสภาวะเดียวกันได้ อีกทั้งผู้ผลิตแต่ละรายมักจะมีวิธีการปรับจุดอ่อน เร่งจุดแข็งด้วยระบบเอนจิ้น หรือตัวสมองกลควบคุมจอภาพที่ดี ดังนั้นพื้นฐานทางเทคโนโลยีทั่วไป …บางทีก็เอามาใช้กับจอภาพเฉพาะรุ่นไม่ได้เหมือนกัน




กบนอกกะลา

อินเวอเตอร์ คืออะไร article
รู้จัก servo หรือยัง article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.